ระเบียบการแข่งขัน การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 “ Thailand Accounting Case Competition 2024 ” วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07.30 น. - 17.00 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษรี ณรงค์เดช ชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี *******************************
- รายละเอียดและระเบียบการแข่งขัน ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 Download
- รายละเอียดโบรชัวร์ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 Download
- ดาวน์โหลดไฟล์กรณีศึกษา TACC 2024 Download
- กำหนดการเข้าเยี่ยมชมดูงาน TACC 2024 Download
- ประกาศรายชื่อทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน TACC 2024 Download
- ประกาศผลการแข่งขัน TACC 2024 Download
- เอกสารการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีศึกษาทางธุรกิจ Download 1
- เอกสารการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีศึกษาทางธุรกิจ Download 2
1. หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางด้านสังคมและเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ต้องพัฒนาและปรับตัวให้เหมาะสมและทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ
สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจและการพัฒนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สภาวิชาชีพบัญชีจึงเห็นสมควรจัดให้มีการแข่งขัน
กรณีศึกษา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างนิสิตนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ และรู้จักใช้ข้อมูลในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
การจัดกิจกรรมนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพให้กับนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาบัญชีและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กรณีศึกษา
จากสถานการณ์จริงเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ่งข้อมูลในกรณีศึกษามิได้สื่อถึงวิธีปฏิบัติที่ดีหรือไม่ดีของหน่วยงานใด ๆ แต่เป็นการเปิดประเด็นเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในกรณีศึกษาเท่านั้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษา สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.2 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจถึงปัญหาการบริหารองค์กรภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นจริง และฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
2.3 เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาและแสดงความสามารถที่เป็นเลิศทางวิชาชีพ และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการทำงานเป็นทีม
3. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันเดียวกัน ทีมละ 5 คน โดยแต่ละทีมต้องประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีอย่างน้อย 3 คน โดยไม่จำกัด
จำนวนทีมในแต่ละสถาบัน ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องมีสถานภาพเป็นนิสิตนักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน และมีอายุไม่เกิน 25 ปี ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
4. การรับสมัคร
4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2567 (โดยสามารถ Download กรณีศึกษาที่ใช้ในการแข่งขันได้ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567)
4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถ สมัครผ่านระบบ Online เท่านั้น
4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 (ภายในเวลา 23.59 น.) (สามารถส่งเอกสารการสมัครได้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)
4.4 ผู้เข้าแข่งขันสามารถส่งรายงานกรณีศึกษาได้ถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (ภายในเวลา 23.59 น.)
4.5 ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 15 ทีมผ่านทางเว็บไซต์ ภายในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (ภายในเวลา 23.59 น.)
5. การส่งรายงานกรณีศึกษา
5.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำส่งไฟล์ในรูปแบบ PDF จำนวน 3 ไฟล์ ผ่านระบบออนไลน์ (เท่านั้น)
5.1.1 ไฟล์ที่ 1 เป็นชื่อสถาบัน ชื่อทีม โดยชื่อทีมต้องไม่สื่อถึงชื่อสถาบัน และรายชื่อผู้เข้าแข่งขัน โดยชื่อทีมจะต้องประกอบด้วยตัวอักษรไม่เกิน 25 ตัวอักษร ไม่รวมวรรณยุกต์
5.1.2 ไฟล์ที่ 2 เป็นรายงานการจัดทำกรณีศึกษา ซึ่งประกอบด้วย บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) และบทวิเคราะห์ จำนวนไม่เกิน 10 หน้า ไม่รวม
หน้าปกและบรรณานุกรม โดยไม่ต้องระบุชื่อสถาบัน ชื่อทีม และรายชื่อสมาชิกของทีม
5.1.3 ไฟล์ที่ 3 เป็นสไลด์นำเสนอ ไม่เกิน 20 สไลด์ โดยไม่ต้องระบุชื่อสถาบัน ชื่อทีม และรายชื่อสมาชิกของทีม (หมายเหตุ: หากผ่านการคัดเลือก สามารถ
ปรับเปลี่ยนสไลด์การนำเสนอเพื่อใช้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้)
5.2 การเขียนรายงานให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK Font หรือ Angsana New Font โดยมีรายละเอียดไม่ต่ำกว่า 14 point และ Line Spacing 1.0 ระยะกั้นหน้า-หลัง-บน-ล่าง 1.00 นิ้ว
5.3 การจัดทำรายงานและสื่อการนำเสนอสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่การนำเสนอด้วยวาจาให้ใช้ภาษาไทยเท่านั้น
หมายเหตุ: หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด
6. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 07.30 - 17.00 น.
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษรี ณรงค์เดช ชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก)
7. กำหนดการแข่งขัน
07.30 - 08.30 น. | ลงทะเบียนรายงานตัวเข้าแข่งขัน |
08.30 - 09.15 น. | พิธีเปิดการแข่งขัน และจับฉลากแบ่งสายการแข่งขัน |
09.15 - 11.45 น. | การแข่งขันชิงชนะเลิศ รอบที่ 1 |
11.45 - 12.30 น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน (บริการอาหาร/น้ำดื่มแก่อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่าน) |
12.30 - 13.00 น. | ประกาศผลการแข่งขันชิงชนะเลิศ รอบที่ 1 และจับฉลากลำดับการแข่งขัน |
13.00 - 16.30 น. | การแข่งขันชิงชนะเลิศ รอบที่ 2 |
16.30 - 17.00 น. | ประกาศผลการแข่งขัน และพิธีมอบรางวัล |
8. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ดังนี้
8.1 รอบคัดเลือก
คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากรายงานและสไลด์ของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดเพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 15 ทีม โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้
1. การวิเคราะห์กรณีศึกษา (Situation Analysis) | ร้อยละ 30 |
2. การเสนอแนะแนวทาง (Recommendation) | ร้อยละ 30 |
3. วิธีการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ (Implementation Strategy) | ร้อยละ 30 |
4. สไลด์การนำเสนอ (Visual Aids) | ร้อยละ 10 |
8.2 รอบชิงชนะเลิศ
รอบที่ 1 การนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีศึกษาเฉพาะหน้า
เป็นการแข่งขันทีมผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 15 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก แต่ละทีมจะมีเวลานำเสนอ 15 นาทีและตอบคำถาม 15 นาที ต่อคณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน และจะคัดเลือกทีมผู้มีสิทธิเข้าร่วมแข่งขันชิงชนะเลิศรอบที่ 2 เพียง 5 ทีม
หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ยังไม่ถึงลำดับการนำเสนอและอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเข้าร่วมฟังการนำเสนอ
รอบที่ 2 การตอบคำถามแบบเฉียบพลัน
เป็นการแข่งขันทีมผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจากรอบที่ 1 โดยแต่ละทีมมีเวลานำเสนอ 15 นาทีและตอบคำถาม 20 นาที แก่คณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน โดยแต่ละทีมจะต้องตอบคำถามพิเศษซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาต่อคณะกรรมการ
เกณฑ์การพิจารณารอบชิงชนะเลิศ มีดังนี้
1. เนื้อหา (Contents) | ร้อยละ 50 |
• การวิเคราะห์กรณีศึกษา (Situation Analysis) | |
• การเสนอแนะแนวทาง (Recommendation) | |
• วิธีการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ (Implementation Strategy) | |
2. การนำเสนอ (Presentation) | ร้อยละ 25 |
3. การตอบคำถาม (Questions and Answers) | ร้อยละ 25 |
ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด
(หมายเหตุ: อนุญาตให้ทุกทีมเข้าร่วมฟังการนำเสนอได้ ยกเว้นทีมผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศ รอบที่ 2 ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
9. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
9.1 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่อนุญาตให้ใส่ชุดนิสิตนักศึกษาที่สามารถระบุสถาบัน
9.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกันและแสดงบัตรประจำตัวนิสิตนักศึกษาต่อเจ้าหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน
9.3 ห้ามนำโทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร หรืออุปกรณ์ใด ๆ เข้าไปในพื้นที่การแข่งขัน
9.4 ผู้เข้าแข่งขันต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ หากผู้เข้าแข่งขันไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่กำหนด คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิการเข้าร่วมแข่งขัน
10. รางวัลการแข่งขัน
รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เหรียญรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับที่ 1: โล่รางวัล เหรียญรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 30,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับที่ 2: โล่รางวัล เหรียญรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 20,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับที่ 3: โล่รางวัล เหรียญรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 15,000 บาท
รองชนะเลิศอันดับที่ 4: โล่รางวัล เหรียญรางวัลและเงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท
สมาชิกของทีมที่เข้ารอบทั้ง 15 ทีมจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ (โดยสภาฯ จะจัดส่งเป็น File ข้อมูลให้) และเหรียญรางวัล (เหรียญเงิน)
11. ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี